วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไตรสิกขา

"ไตรสิกขา"
"ไตรสิกขา" คือการศึกษา ทั้ง ๓ มีหัวข้อตามหลักดังนี้
๑. อธิศีลศิกขา การฝึกศึกษาในด้านความประพฤติทางกาย วาจา และอาชีพ ให้มีชีวิตสุจริตและเกื้อกูล (Training in Higher Morality)
๒. อธิจิตตสิกขา การฝึกศึกษาด้านสมาธิ หรือพัฒนาจิตใจให้เจริญได้ที่ (Training in Higher Mentality หรือ Concentration)
๓. อธิจิตปัญญาสิกขา การฝึกศึกษาในปัญญาสูงขึ้นไป ให้รู้คิดเข้าใจมองเห็นตามเป็นจริง (Training in Higher Wisdom)
ไตรสิกขานี้ เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วไป ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ( พุทธโอวาทที่เป็นหลักใหญ่ ๓ อย่าง ) คือ
• สพพปาปสส อกรณ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ( ศีล )
• กุสลสสูปสมปทา การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ )
• สจิตตปริโยทปน การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ปัญญา )
ไตรสิกขานี้ เรียกว่าเป็น “พหุลธัมมีกถา” คือคำสอนธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงบ่อย และมีพุทธพจน์แสดงต่อเนื่องกันของ กระบวนการศึกษาฝึกอบรมที่เรียกว่าไตรสิกขา ดังนี้
“ ศีลเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ ปัญญาเป็นอย่างนี้ สมาธิทำศีลบ่มแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก ปัญญาที่สมาธิบ่มแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก จิตที่ปัญญาบ่มแล้วย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยสิ้นเชิง คือ จากกมามสวะ ภวาสวะ และอวิชาชาสวะ”
ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ
(ศีล -> สมาธิ) เมื่อประพฤติดี มีความสัมพันธ์งดงาม ได้ทำประโยชน์อย่างน้อยดำเนินชีวิตโดยสุจริต มั่นใจในความบริสุทธิ์ของ ตน ไม่ต้องกลัวต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร ไม่หวาดหวั่นเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึก ไม่ยอมรับของสังคม และไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง จิตใจก็เอิบอิ่ม ชื่นบานเป็นสุข ปลอดโปร่ง สงบ และแน่วแน่ มุ่งไปกับสิ่งที่คิด คำที่พูดและการที่ทำ
(สมาธิ -> ปัญญา) ยิ่งจิตไม่ฟุ้งซ่าน สงบ อยู่กับตัว ไร้สิ่งขุ่นมัว สดใส มุ่งไปอย่างแน่วแน่เท่าใด การรับรู้ การคิดพินิจพิจารณามอง เห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆก็ยิ่งชัดเจน ตรงตามจริง แล่น คล่อง เป็นผลดีในทางปัญญามากขึ้นเท่านั้น
อุปมาในเรื่องนี้ เหมือนว่าตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีเรียบร้อย ไม่ไปแกล้งสั่นหรือเขย่ามัน ( ศีล ) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆ ก็นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน ( ปัญญา )
ในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นจะให้เกิดญาณ อันรู้แจ้งเห็นจริงจนกำจัดอาสวกิเลสได้ ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดระงับการรับรู้ทางอายตนะต่างๆ ได้หมด เหลืออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดไว้ใช้งาน แต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำการอย่างได้ผล จนสามารถกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นได้หมดสิ้น ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป
จากไตรสิกขาเป็นการศึกษาที่ให้ชีวิตดำเนินไปอย่างปกติสุข ไม่ทำให้ใครเดือนร้อน ดำรงตนให้ปลอดภัย ปราศจากสิ่งที่เศร้าหมองทั้งปวง เป็นการฝึกที่สมดุลทั้งกายและจิต หากมนุษย์เราทุกคนสามารถประพฤติ ปฏิบัติไตรสิกขาได้ความขัดแย้งหรือ ปัญหาต่างๆก็จะหมดไป หรือเมื่อเกิดปัญหาใดก็ตามบุคคลเหล่านั้นก็จะฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ด้วยสติ ปัญญาที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างชาญฉลาดและถูกทำนองครองธรรม ไม่ทำให้การแก้ปัญหาหนึ่งไปสู่อีกปัญหาหนึ่งไม่จบสิ้น สังคมในปัจจุบันมีปัญหาต่างๆมากมายเพราะแต่ละคนยังละกิเลส ความอยากได้ อยากมีไม่ได้ทำให้เกิดการกระทำที่ผิดทั้งกฎหมาย คุณธรรม ค่านิยม เมื่อผิดศีลก็ขาดสมาธิที่จะกระทำสิ่งต่างๆ หวาดระแวงกลัวผลของความผิดเมื่อไม่มีสมาธิก็เจริญปัญญาได้ยาก
เราควรประพฤติดีปลูกฝังจิตสำนึกตนเองให้ดีก่อนและขยายผลไปสู่คนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ ครูอาจารย์ซึ่งเด็กจะต้องเฝ้ามองเราเป็นแบบอย่างซึ่งเห็นได้ง่าย เห็นอยู่เป็นประจำ เด็กเหล่านั้นจะค่อยๆซึมซับความดีไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้ความเจริญทางวัตถุสูงขึ้นแต่ก็กดความดีงามในสังคมให้ต่ำลง หากวันนี้แต่ละคนไม่คิดที่จะเริ่มปลูกความดี สังคมแห่งความสุขคงหมดไป
ข้อมูลจากเว็บไซต์http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น